วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Windows 7 มีอะไรใหม่?



Windows 7 ในแรกเริ่มเดิมที่มีชื่อหรือรหัสในการพัฒนาว่า แบล็กโคมบ์ (Blackcomb) ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นเวียนนา (Vienna) โดย Windows 7 ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นกับ Vista ที่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร Windows 7 จะใช้ทรัพยากรของเครื่องที่น้อยกว่า Windows Vista ทำให้ความเร็วในการทำงานโดยรวมนั้นเร็วกว่า Windows Vista มีการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ง่ายมากขึ้น พร้อมกับระบบจอภาพสัมผัส ระบบจดจำลายนิ้วมือ, DirectX 11 สำหรับกราฟิกและการเล่นเกม
หลายคนอาจสงสัยว่า ใน Windows 7 จะมีอะไรที่ใหม่กว่า Windows Vista หรือ Windows XP ในที่นี้จะขอแบ่งส่วนต่างๆ ของ Windows 7 เป็น 3 ส่วน ดังนี้
  1. ส่วนที่เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นแกนหลักของระบบปฏิบัติการที่ทำให้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สามารถทำงานร่วมกันได้
  2. ระบบติดต่อกับผู้ใช้ หรือ Use Interface
  3. โปรแกรมต่างๆ ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเพิ่ม
สำหรับส่วนแรกนั้น Windows 7 พัฒนาต่อยอดมาจาก Windows Vista ทำให้ในส่วนของแกนหลักของระบบปฏิบัติการแทบจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากมายนัก (จนหลายๆ คนวิจารณ์ว่าไม่มีอะไรที่เป็นสิ่งแปลกใหม่) ไม่ว่าจะเป็น ระบบเอฟเฟ็กต์ Aero ไดรเวอร์ต่างๆ รวมไปถึงระบบรักษาความปลอดภัยที่เรียกว่า Use Account Control ที่ปรับปรุงให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ช่วยให้สามารถใช้งานโปรแกรมต่างๆ ได้อย่างปลอดภัยโดยสามารถกำหนดระดับการเตือนได้ โดยไม่มีการเตือนที่น่ารำคาญเหมือนกับ Windows Vista
ด้านประสิทธิภาพในการทำงาน Windows 7 ใช้ทรัพยากรที่น้อยกว่า Windows Vista โดยหน่วยความจำขั้นต่ำ ใช้เพียง 1 กิกะไบต์ ในขณะที่ Windows Vista ใช้อย่างน้อย 2 กิกะไบต์ (แต่แนะนำให้ใช้จริงๆ 4 กิกะไบต์) โดยสังเกตได้ว่า Windows 7 จะใช้ทรัพยากรระบบน้อยลง และมีประสิทธิภาพในการทำงานเร็วกว่าทั้ง Windows Vista และ XP ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์
ส่วนของระบบติดต่อกับผู้ใช้ มีการเปลี่ยนแปลงให้ดีกว่าที่มีใน Windows Vista (ผู้ใช้งาน Windows XP ก็สามารถใช้งานได้ไม่ยาก) โดยจะมีการปรับปรุงการใช้งานทาสก์บาร์ที่ดีขึ้น โดดยจะจัดไอเท็มที่คล้ายกันและมีความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน เพื่อประหยัดพื้นที่ในการใช้งาน สามารถลากไอเท็มที่ต้องการไปวางบนไอเท็มที่รวมกลุ่มกัน และสามารถพรีวิวดูคอนเทนต์เมื่อวางพอยน์เตอร์เหนือไอคอนบนทาสก์บาร์ได้ด้วย รวมไปถึงคุณสมบัติ Aero Peek, System Tray, Jump List (จะกล่าวรายละเอียดต่อไปในภายหลัง)
Gadget ที่ปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องวางไว้บน Sidebar เหมือนใน Windows Vista ผู้ใช้สามารถวางไว้ในที่ใดก็ได้บนเดสก์ทอป และจะมีปุ่ม show desktop ที่จะแสดงเดสก์ทอปทั้งหมดและคอลเล็กชั่น Gadget ของคุณโดยไม่ต้องมินิไมซ์หน้าต่างไหนลงทาสก์บาร์ รวมทั้งการปรับปรุงด้านการประหยัดพลังงาน ทำให้สามารถใช้งานร่วมกับแบตเตอรี่ได้ยาวนานขึ้น
และสุดท้าย โปรแกรมที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการนั้น จะมีการจัดกลุ่มให้สามารถใช้งานได้สะดวกมากขึ้น เช่น Windows Live Essential จะประกอบด้วยโปรแกรม Windows Photo Gallery, Windows Movie Maker, Windows Mail, Windows Calendar เป็นต้น
ทาสก์บาร์แบบใหม่ ที่รวม Quick Launch ไว้ด้วยกัน สามารถทำงานได้สะดวกมากขึ้น เมื่อนำพอยน์เตอร์ไปวางที่ไอคอนของโปรแกรมจะมีพรีวิวแสดงหน้าต่างแบบเต็มจอ ภาพประกฎขึ้นมา
Windows 7 ในเอดิชั่นต่างๆ
Windows 7 จะมีอยู่ด้วยกัน 5 เอดิชั่น โดยแต่ละเอดิชั่นจะมีทั้งเวอร์ชั่น 32 บิตและ 64 บิตให้เลือกใช้
  1. Windows 7 Starter (สำหรับเครื่องใหม่เท่า นั้น) โดยรุ่นนี้ จะเหมาะกับเครื่องใหม่ที่ไม่ได้ใช้งานอะไรมากนัก รวมไปถึงเน็ตบุ๊กต่างๆ และมีเวอร์ชั่น 32 บิตเท่านั้น มีคุณสมบัติทาสก์บาร์ปรับปรุงใหม่, Jump List, Windows Media Player, Backup and Restore, Action Center, Device Stage, Play To (สามารถเล่นเพลงไปยังเครื่องเสียงที่ตั้งไว้ที่อื่น) Fax and Scan, เกมพื้นฐานต่างๆ สิ่งที่ขาดหายไปในเวอร์ชั่นนี้ คือ Aero Glass, Aero desktop enhancements ต่างๆ , Windows Touch, Media Center, Live thumbnail previews, Home Group creation
  2. Windows 7 Home Premium เหมาะกับผู้ใช้ทั่วไป มีคุณสมบัติ Aero Glass, Aero Background, Windows Touch, Home Group creation, Media Center, DVD Playback and authoring, เกมพรีเมี่ยมต่างๆ, Mobility Center สิ่งที่ขาดหายไปในเวอร์ชั่นนี้ คือ Domain join (สนับสนุนการล็อกอินแบบมีโดเมน), Remote Desktop host, advanced backup, EFS, Office Folders
  3. Windows 7 Professional เหมาะกับผู้ใช้ทั่วไป มีคุณสมบัติ Domain join (สนับสนุนการล็อกอินแบบมีโดเมน), Remote Desktop host, location aware printing, EFS, Mobility Center, Presentation Mode, Office Folders สิ่งที่ขาดหายไปในเวอร์ชั่นนี้ คือ BitLocker, BitLocker To Go, AppLocker, Direct Access, Branche Cache, MUI language packs, บูตจาก VHD
  4. Windows 7 Enterprise เหมาะสำหรับผู้ใช้ในองค์กรที่ซื้อแบบ Volume-license มีคุณสมบัติ BitLocker, BitLocker To Go, AppLocker, Direct Access, Branche Cache, MUI language packs, boot from VHD, Virtualization สิ่งที่ขาดหายไปในเวอร์ชั่นนี้ คือ Retail licensing
  5. Windows 7 Ultimate เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้ทั่วไป แต่จำกัดความสามารถในการใช้งาน มีคุณสมบัติ BitLocker, BitLocker To Go, AppLocker, Direct Access, Branche Cache, MUI language packs, boot from VHD สิ่งที่ขาดหายไปในเวอร์ชั่นนี้ คือ Volume licensing
อย่างไรก็ตาม Windows 7 จะมี Home Basic ที่อาจมีจำหน่ายในบางประเทศ เป็นเอดิชั่นที่ตัดคุณสมบัติบางส่วนออกไป เช่น Aero Glass, Live Thumbnail Previews, Internet Connection Sharing เป็นต้น
Windows เวอร์ชั่นต่างๆ
ปัจจุบัน ไมโครซอฟท์ได้พัฒนา Windows เวอร์ชั่นต่างๆ มาแล้ว 25 เวอร์ชั่น เราจะพาคุณไปรู้จักกันว่า มีเวอร์ชั่นอะไรบ้างออกเมื่อไรบ้าง ดังนี้
November 1985 Windows 1.01
November 1987 Windows 2.03
March 1989 Windows 2.11
May 1990 Windows 3.0
March 1992 Windows 3.1
October 1992 Windows For Workgroups 3.1
July 1993 Windows NT 3.1
December 1993 Windows For Workgroups 3.1
January 1994 Windows 3.2 (Chinese Only)
September 1994 Windows NT 3.5
May 1995 Windows NT 3.51
August 1995 Windows 95
July 1996 Windows NT 4.0
June 1998 Windows 98
May 1999 Windows 98 SE
February 2000 Windows 2000 NT
September 2000 Windows Me
October 2001 Windows XP
March 2003 Windows XP 64-bit Edition 2003
April 2003 Windows Server 2003
April 2005 Windows XP Professional x64 Edition
July 2006 Windows Fundamentals for Legacy PCs
January 2007 Windows Vista
July 2007 Windows Home Server
February 2008 Windows Server 2008
by service

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น