สำหรับ คนที่พัฒนาระบบงานบน Linux หรือ Unix และเป็นผู้ที่ไม่ชอบย้ายมือออกจากคีย์บอร์ดนั้น ขอแนะนำให้ใ้ช้ Vi Editor แล้วท่านจะไม่ผิดหวัง เนื่องจาก vi นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งาน โดยที่ไม่จำเป็นต้องเอามือออกจากคีย์บอร์ดเลย ไม่เพียงเท่านั้น 10 นิ้วของท่าน จะไม่หลุดออกแป้น a s d f space j k l : เลย แม้แต่ลูกศรขึ้นลง ก็ไม่ได้ใช้ ตัวเลข ก็ไม่ได้ใช้ อยากรู้แล้วใช้ไหมครับ ว่ามันทำงานอย่างไร
vi ประกอบด้วย 2 Mode คือ
1. Mode command ไว้สำหรับใช้คำสั่ง Mode นี้ เพียงกด Esc ก็จะเข้าสู่ Mode command อัตโนมัติ (คิดอะไรไม่ออก กด Esc ลูกเดียว)
2. Mode การพิมพ์ ไว้สำหรับเพิ่มข้อมูล เลื่อน Cursor ต่าง ๆ แต่เราต้องใช้ Command ก่อน เช่น หากต้องการเพิ่มอักษร ต้องสั่ง I (Insert) เสียก่อน และเมื่อพิมพ์จะเป็นการแทรกข้อความอัตโนมัติ
ผมขอแนะนำเทคนิคที่ใช้กันบ่อย ๆ นะครับ
รูปแสดงแผนผังการใช้งาน VI Editor แบบไม่ยกนิ้วกันเลยครับผม
การเลื่อนทิศทาง (Motivation)
สังเกตุนะครับ มือจะไม่ขยับไปใช้ ลูกศร ขึ้นลง เลย ทำให้ทำงานได้เร็วขึ้น
* h = เลื่อนไปทางซ้าย
* l = เลื่อนไปทางขวา
* j = เลื่อนลง
* k = เลื่อนขึ้น
* หาก พิมพ์ 8l = เลื่อนไปทางขวา 8 ตัวอักษร
* w , W = เลื่อนไปทางขวา 1 คำ เช่น this is test เมื่อกด w จะเลื่อน Cursor ไป 1 word Cursor จะไปยืนอยู่ที่ this is test เป็นต้น
* { = เลื่อนไปยังต้น Paragraph
* } = เลื่อนไปยังท้าย Paragraph
* :หมายเลขบรรทัด = เลื่อนไปยังบรรทัดที่ต้องการ เช่น :10 หมายถึงไปบรรทัดที่ 10 เป็นต้น
* $ = ไปตัวอักษรท้ายสุดของบรรทัด
* 0 = ไปตัวอักษรตัวแรกสุด ของบรรทัด
การกระทำการ (Operator)
* i = เพิ่มตัวอักษร (insert) ใช้งาน โดยพิมพ์ i แล้วพิมพ์ต่อได้เลย
* I = เพิ่มตัวอักษรต้นบรรทัด
* x = ลบตัวษรทีละ 1 ตัว
* 10x = ลบตัวอักษร 10 ตัว
* dw = ลบทั้งคำ
* dd = ลบทั้งบรรทัด
* yy = yank หมายถึง Copy ทั้งบรรทัด
* p = วาง (Paste) วางบรรทัดล่างจาก Cursor อยู่
* P = วาง (Paste) วางแทรกบรรทัดปัจจุบัน
การจัดการเกี่ยวกับไฟล์
* :w ชื่อไฟล์ = save ไฟล ์ด้วยชื่อที่กำหนด
* :wq = save ไฟล์ และออกจาก vi (Quit)
* :q! = ออกจาก vi โดยไม่ Save
* :set
o set nu = สั่งให้ vi แสดงหมายเลขบรรทัด
o set ic = สั่งให้เวลา Search ไม่ดูการค้น ตัวเล็ก ตัวใหญ่ ใด ๆ (Ignore Case)
o set nu ic สั่งให้ทำงานทั้ง 2 แบบ
ลอง Telnet แล้วไปของพิมพ์เล่น ๆ ดูนะครับ ทางด้านบนนั้น เป็นเพียงแค่ความสามารถเพียงนิดเดียวของ Vi ครับ หวังว่าหลายคนที่มองหา Editor ฟรี ๆ ความสามารถสูง ๆ ที่พร้อมใช้ังานอยู่ใน Server อยู่แล้วครับ
ขอบพระคุณที่สนใจอ่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น